พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน
๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

นายประกอบ จันทรทิพย์

นายประกอบ จันทรทิพย์
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 2

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

หลักการจัดการเรียนการสอน แบบ Brain Based Learning

การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ( Brain Based Learning : BBL)

หลักการจัดการเรียนการสอน แบบ Brain Based Learning

   BBL (Brain-based Learning) คือการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้การนำทฤษฏีพหุปัญามาใช้กับการเรียนการสอนแบบ Brain Based Learning
 ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner)
นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด
ได้เสนอแนวคิดว่า ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)

2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
การจัดการศึกษาในโรงเรียนในปัจจุบัน
     การนำหลักการจัดการเรียนการสอน แบบ Brain Based Learning
มาใช้เนื่องจากสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนพบว่า
1.การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมได้รับความสนใจน้อยที่สุด
2.การเลี้ยงเด็กเล็ก เน้นแต่เพียงการกินอิ่มนอนหลับ ปลอดภัยทางกายภาพ
3.โรงเรียนส่วนใหญ่ เน้นการสอนและวัดผลเพียง 2 ด้าน คือ ภาษาและตรรกคณิตศาสตร์

4. การเรียนการสอนจัดแบบเดียวกันสำหรับทุกคนในห้องเรียน สอนแบบบรรยาย ท่องจำ
หลักการจัดการเรียนการสอน แบบ Brain Based Learning

         Regate และ Geoffrey Caine นักวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับสมองเป็นหลัก ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียน
การสอน 12 ข้อ ดังต่อไปนี้
  1)สมองเป็นกระบวนการคู่ขนาน
  2)สมองกับการเรียนรู้
  3)การเรียนรู้มีมาแต่กำเนิด
  4)รูปแบบการเรียนรู้ของบุคคล
  5) ความสนใจมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
  6)สมองมีหน้าที่สร้างกระบวนการเรียนรู้
  7)การเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  8)การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทั้งแบบที่มีจุดมุ่งหมายและไม่ได้ตั้งใจ
  9)การเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างความเข้าใจ
  10)การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  11)ส่งเสริมให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
  12)สมองของบุคคลมีความเท่าเทียมกัน

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
( Brain Based Learning : BBL. ) ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรในการบริหารจัดการศึกษาได้ดังนี้

  1. ในการเรียนการสอน เรียนรู้จากง่ายไปหายาก มีลำดับและเชื่อมโยงกันเสมอ

  2. วิธีการเรียนต้องสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ
  3. เน้นให้นักเรียนได้ใช้ความคิด ทั้งคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และใช้จินตนาการพร้อมให้โอกาสแสดงความคิดเห็น
  4. ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ควรจะฝึกให้เด็กได้ปฏิบัติดังนี้
   4.1 ฝึกสังเกต
   4.2 ฝึกบันทึก
   4.3 ฝึกการนำเสนอ
   4.4 ฝึกการฟัง
   4 .5 ฝึกการอ่าน
   4.6 ฝึกการตั้งคำถาม
   4.7 ฝึกการเชื่อมโยงทางความคิด
   4.8 ฝึกการเขียนและเรียบเรียงความคิดเป็นตัวหนังสือ


รวบรวมโดย
นายเกื้อกูล ขวัญทอง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น